ไม้ประดับที่สามารถช่วยดูดสารพิษและฟอกอากาศได้
1. หมากเหลือง (Areca Palm หรือ
Yellow Palm)
หมากเหลือง
เป็นไม้ประดับภายในอาคารที่เป็นที่นิยมมากชนิดหนึ่ง เพราะมีความสวยงาม
มีความทนต่อสภาพแวดล้อมภายในอาคารและคายความชื้นให้แก่อากาศภายในห้องได้เป็นจำนวนมาก
ในขณะที่มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจากอากาศได้ในปริมาณมากเช่นกัน
หมากเหลืองเป็นพืชตระกูลปาล์มที่ปลูกง่าย โตเร็ว เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ
5–10 เมตร ลำต้นมีลายคล้ายข้อปล้อง
โค้งงอและตั้งตรงได้สัดส่วนสวยงาม เจริญพันธุ์ด้วยการแตกหน่อเป็นกอประมาณ 5–12
ต้น ใบมีลักษณะเป็นรูปขนนกแผ่นใบมีสีเขียวอมเหลืองออกดอกเป็นช่อสีเหลืองอ่อนเป็นอยู่ใต้กาบใบ
ภายใต้สภาพแวดล้อมห้อง หมากเหลืองขนาดสูง 1.8 เมตรจะคายน้ำประมาณ 1 ลิตร
ทุกๆ 24 ชั่วโมง ในบรรดาไม้ประดับดูดสารพิษด้วยกัน หมากเหลือง
เป็นพืชที่ดูดสารพิษจากอากาศได้ในประมาณมากที่สุดชนิดหนึ่งที่แนะนำให้ปลูกไว้ใน
อาคารสำนักงาน หรือ บ้านเรือน
2.จั๋ง
(Lady Palm หรือ Ground)
ลักษณะโดยทั่วไป :ปาล์มชนิดแตกกอ ลำต้นขนาดเล็ก
สูง ได้ถึง 3 เมตร
มีแผ่นใยสีน้ำตาลเข้มคลุมอยู่บางๆ ทั่วลำต้น
ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบต้น ใบรูปฝ่ามือ
ขอบจักเป็นใบย่อย 4-10 ใบ เรียงแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม ใบย่อยหนาแข็ง รูปเรียว ยาว
ปลายใบทู่ ก้านใบยาว
ดอก: ออกเป็นช่อที่ซอกกาบใบ
ก้านช่อดอกมีขนดอกแบบแยกเพศและอยู่แยกต้น
ผล: เป็นผลเดี่ยว ทรงกลม ขนาดเล็ก
สภาพปลูก: ดินร่วน ระบายน้ำดี
ชอบแสงช่วงครึ่งวันเช้าหรือร่มรำไร ปลูกอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่
ขยายพันธุ์: แยกกอและเพาะเมล็ด
ขยายพันธุ์: แยกกอและเพาะเมล็ด
3.ยางอินเดีย (Rubber Plant)
ยางอินเดีย เป็นไม้ประดับที่รู้จักในเมืองไทยมานานแล้ว เป็นพรรณไม้ขนาดใหญ่
ถ้าปลูกกลางแจ้งจะสูงไม่มากนัก
ถึงแม้จะเป็นไม้ที่ชอบแสงแดดแต่ก็เจริญเติบโตได้ในสภาพแสงน้อย ปลูกง่ายทนทาน
มิหนำซ้ำยังมีคุณสมบัติดีเด่นในการดูดสารพิษจากอากาศภายในอาคารได้ดีเยี่ยม
ยางอินเดียมีลำต้นตั้งตรง
ลักษณะเด่นอยู่ที่ใบ มีลักษณะกลมรีปลายแหลม ใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมันวาว
ปลูกเป็นไม้ประดับได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร
ในบรรดาไม้ขนาดใหญ่ด้วยกัน ยางอินเดีย เป็นไม้ประดับภายในอาคารที่น่าสนใจ
เพราะเจริญเติบโตได้ดีถึงจะมีแสงน้อย ปลูกง่าย ทนทาน ต้องการน้ำไม่มาก
แต่ในทางตรงกันข้ามกลับคายความชื้นได้มาก
และที่สำคัญเป็นพืชดูดสารพิษช่วยฟอกอากาศภายในบ้านและสำนักงานได้อย่างดีเยี่ยม
4.โกสน (Croton)
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นโกสนไว้ประจำบ้านจะทำให้มีบุญบารมี
เพราะโกสนโบราณคงกล่าวถึง กุศล
คือการสร้างบุญคุณงามความดีนอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่าสามารถช่วยคุ้มครองให้มีความอยู่เย็นเป็นสุขเพราะ
คนโบราณเชื่อว่าต้นโกสนเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่ปลูกคู่บ้านคู่เมืองโดยสมัยรัชกาลที่5
ทรงนำเข้ามาปลูกไว้ในพระ
ราชวังบ้านขุนนางวัดหลวงเพื่อให้เกิดความร่วมเย็นเป็นสุขตลอดมาตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูกเพื่อเป็นสิริมงคล
แก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นโกสนไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร
เพราะโบราณ เชื่อว่าการ ปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร
5.ปาล์มไผ่ ( Bamboo palm (Chamaedorea
sefritzii))
ปาล์มไผ่ เป็นปาล์มที่มีขนาดเล็กเจริญเติบโตช้า
สูงประมาณ 2 - 3 เมตร แตกกอสวยงาม ดูอ่อนช้อยคล้ายกอไผ่
และเหมาะดีกับการตกแต่งสไตล์โอเรียนทัล รวมทั้งสไตล์ไทย เมื่อปลูกใส่กระถางวางประดับหน้าฝาบ้านสามารถลดความแข็งกระด้างของแผ่นไม้ให้ดูอ่อนช้อยลงได้ทันตา
6.สาวน้อยประแป้ง (Dumb Cane)
สาวน้อยประแป้ง
เป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั้งภายนอกและภายในอาคารมานานแล้ว
เพราะเลี้ยงง่าย ทน และใบมีลวดลายสวยงาม
แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงคุณค่าของสาวน้อยประแป้งในฐานะเป็นไม้ที่ช่วยฟอกอากาศ สามารถดูดสารพิษได้มากชนิดหนึ่ง
สาวน้อยประแป้งมีใบใหญ่คล้ายใบพาย มีตั้งแต่สีเขียวอ่อน
เขียวแก่ไปจนถึงสีเหลืองอ่อนๆ มีลายแต้มประปรายสีขาวหรือเหลืองอ่อน จึงได้ชื่อว่า
สาวน้อยประแป้ง
8.เดหลี (Peace Lily)
เดหลี
เป็นไม้ประดับที่โดดเด่นมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากให้ดอกสีขาวที่สวยงาม
จึงมักเป็นที่นิยมนำไปเป็นไม้ประดับในอาคาร เป็นไม้ที่คายความชื้นสูง
ในขณะที่มีความสามารถสูงในการดูดพิษภายในอาคาร
เดหลีเป็นไม้ประดับที่มีใบสีเขียวเข้มมันเป็นวาว ดอกเป็นช่อสีขาวหรือขาวแกมเหลือง
กาบหุ้มช่อดอกมีสีขาวคล้ายดอกหน้าวัว เป็นไม้พุ่มเตี้ยสูงประมาณ 30–60
เซนติเมตร โดยธรรมชาติเดหลีชอบขึ้นอยู่ตามริมลำธารที่มีร่มเงาในป่าฝนเขตร้อน
แต่เมื่อนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในอาคารเดหลีก็สามารถปรับตัวได้ดี
แม้จะมีความชื้นต่ำและรับแสงจากหลอดไฟฟ้า เพียงแต่ดินต้องมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ
เป็นไม้ประดับในจำนวนน้อยชนิดที่สามารถออกดอกได้ภายในอาคาร
เดหลีสามารถดูดสารพิษจำพวกแอลกอฮอล์ อาซีโตน ไตรคลอไรเอทีรีน
เบนซีนและฟอร์มาดีไฮด์ และสามารถดูดได้ในปริมาณมาก
จึงไม่ควรลืมที่จะนำเดหลีประดับไว้ในสำนักงานหรือบ้านเรือน
9.มรกตแดง (Red Emerald Philodendron)
มรกตแดง เป็นพันธุ์ไม้ที่ดูดสารพิษได้ดีที่สุดในบรรดาพันธุ์ไม้ในตระกูลฟิโลเดนดรอน
เป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกและดูแลรักษาง่าย จึงถูกแนะนำให้นำมาปลูกเป็นไม้ประดับในอาคาร
มรกตแดงเป็นพืชพันธุ์ไม้เลื้อยในตระกูลฟิโลเดนตรอน
ตามธรรมชาติจะเลื้อยพันต้นไม้ใหญ่ในป่า จึงไม่ชอบแสงแดดจัด แต่เมื่อนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารก็เป็นไม้ที่แข็งแรง
ปลูกเลี้ยงง่ายไม่ค่อยมีปัญหา มรกตแดงมีใบใหญ่ สีเขียวอมแดงเป็นมัน ดูสวยงาม
การปลูกภายในอาคารให้ใช้กาบมะพร้าวหุ้มไม้ปักไว้ในกระถางพรมน้ำให้ชื้น
เพื่อให้ยึดเกาะ ถ้าต้องการให้แตกกิ่งก้านสาขามากๆ ก็ควรหมั่นเด็ดยอดตั้งแต่ยังเล็กอยู่
10.แววมยุรา (Prayer Plant)
แววมยุรา
เป็นพืชพันธุ์ไม้เลื้อยกึ่งคลุมดินในตระกูลเดียวกับคล้า
แต่การปลูกเลี้ยงง่ายกว่ามาก
เพราะมีความอดทนและเจริญเติบโตได้ง่ายในทุกสภาวะของห้อง
แววมยุรามีใบด้านหน้าสีเขียวสลับลายเขียวแก่หรือน้ำตาล
ส่วนหลังสีเขียวอมแดงหรือม่วงมีลายสลับเช่นเดียวกัน
เนื่องด้วยใบมีลวดลายและสีสันสวยงามคล้ายหางนกยูงจึงได้ชื่อไทยว่า “แววมยุรา”
ส่วนภาษาอังกฤษได้ชื่อว่า “Prayer Plan” แปลว่า
ต้นไม้พนมมือ โดยตั้งชื่อตามลักษณะการกระดกของใบตั้งขึ้นเหมือนการพนมมือตอนใกล้ค่ำ
พอตอนรุ่งเช้าใบก็จะคลี่ออกตามเดิม
แววมยุราเป็นไม้ประดับในอาคารที่ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นภายในห้องได้ดี
ถึงแม้ว่าคุณสมบัติในการดูดสารพิษจะน้อยไปสักนิดก็ตาม
อ้างอิง http://suphattraland.surprisethailand.com/index.php?mo=10&art=346841
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น